วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การเขียนผังงาน (Flowchart) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
ประโยชน์ของผังงาน

           ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน
           ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
           ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
           ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้น

วิธีการเขียนผังงานที่ดี

           ใช้สัญลักษณ์ตามที่กำหนดไว้
           ใช้ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา
           คำอธิบายในภาพควรสั้นกะทัดรัด และเข้าใจง่าย
           ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า - ออก
           ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน
           ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทำงานก่อนนำไปเขียนโปรแกรม

ผังงานโปรแกรม ( Program Flowchart)
การเขียนผังโปรแกรมจะประกอบไปด้วยการใช้สัญลักษณ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ ANSI ( American National Standards Institute ) ในการสร้างผังงาน ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปต่อไปนี้
·         จุดเริ่มต้น / สิ้นสุดของโปรแกรม 
·         ลูกศรแสดงทิศทางการทำงานของโปรแกรมและการไหลของข้อมูล
·         ใช้แสดงคำสั่งในการประมวลผล หรือการกำหนดค่าข้อมูลให้กับตัวแปร 
·         แสดงการอ่านข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรองเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายในเครื่องหรือการแสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมา
·         การตรวจสอบเงื่อนไขเพื่อตัดสินใจ โดยจะมีเส้นออกจารรูปเพื่อแสดงทิศทางการทำงานต่อไป เงื่อนไขเป็นจริงหรือเป็นเท็จ
·         แสดงผลหรือรายงานที่ถูกสร้างออกมา
·         แสดงจุดเชื่อมต่อของผังงานภายใน หรือเป็นที่บรรจบของเส้นหลายเส้นที่มาจากหลายทิศทางเพื่อจะไปสู่การทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน
·         การขึ้นหน้าใหม่ ในกรณีที่ผังงานมีความยาวเกินกว่าที่จะแสดงพอในหนึ่งหน้า 
Flowchart
     อย่างแรกเลยที่เราต้องรู้จัก  คือ Algorithm (และต้องเขียนให้เป็นเพราะต้องใช้ตลอด ข้อสอบ Final ของ Intro
ก็ประมาณนี้นะมีเขียน Flowchart)
     Algorithm  คือ กระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถเข้าใจได้ มีลำดับหรือวิธีการในการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่ง
อย่างเป็นขั้นเป็นตอนและ ชัดเจน เมื่อนำเข้าอะไร แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์เช่นไร เช่น เวลาเราจะเดินทางไปมหาลัย(เปรียบ
เสมือนปัญหา คือต้องการไปมหาลัย) ต้องทำอย่างไรบ้าง เพื่อจะไปถึงมหาลัย(ผลลัพธ์ ที่ต้องการ)  ยกตัวอย่าง
     วิธีที่ 1
     1.นั่งรถสองแถวไปมีนบุรี
     2.นั่งรถตู้ที่มีนบุรีไป มหาลัย
     3.ถึงมหาลัย
     วิธีที่ 2
     1.เดินจากบ้านไปมีนบุรี
     2.นั่งรถเมย์ไปมหาลัย
     3.ถึงมหาลัย
     วิธีที่ 3
     1.นั่ง Taxi ไปมหาลัย
     2.ถึงมหาลัย
     จะสังเกตุได้ว่า ใน 1 ปัญหา มีวิธีแก้ไขหลายวิธี แต่ละคนอาจจะคิดวิธีแก้ไขปัญหา(Algorithm) แตกต่างกันออกไป
(จากตัวอย่างบางคนอาจจะอาศัยรถคนอื่นไปก็ได้จริงมั้ยค่ะ) เมื่อเรารู้จัก Algorithm แล้ว เราก็เอา Algorithm
ที่เราคิดได้ ไปเขียนเป็น Flowchart (ตามลำดับขั้นตอนของ Algorithm)
     สัญลักษณ์(Symbol)
การเขียน Flowchart เบื้องต้นเราจะใช้สัญลักษณ์ดังต่อไปนี้ 
               รูปแบบการเขียน Flowchart            
    การเขียนเราจะเขียนในลักษณะ Top-Down คือจากบนลงล่าง(Flow คือการไหล,Flowchart ก็คือ ผังงานการไหลของข้อมูล)
การเขียนมี 3 ลักษณะ คือ sequence(ตามลำดับ) selection(ทางเลือก/เงื่อนไข) iteration(ทำซ้ำ)
          Sqquence(ตามลำดับ)
      เป็นการเขียนแบบไล่ทำไปทีละลำดับ ไม่มีแยก (เปรียบเสมือน ขับรถไป ไม่มีทางแยกให้เลี้ยวไปไหน)        



 ที่ใช้สัญลักษณ์    สี่เหลียมผืนผ้า   เพราะมันเป็นกระบวนการ(Process) 
จะเห็นว่ามันเป็นเพียงแค่ลำดับขั้นตอน ของการแก้ไขปัญหาแค่นั้นเอง (เพียงแต่เลือกใช้สัญลักษณ์ให้ถูก)
          Selection(ทางเลือก/เงื่อนไข)
     แล้วถ้ามีเงื่อนไข หรือ ทางเลือก ละ ประมาณว่า (สมมุตินะ) ถ้านั่งรถไปมีนบุรีแล้ว รถตู้เต็ม คนต่อแถวเยอะมากเลย
ไปเรียนไม่ทันแน่ๆ ก็ให้นั่ง Taxi (เห็นมั้ยว่ามันมีทางเลือกและ หรือเงื่อนไขนั่นเอง) เรามาดูแบบมีเงื่อนไขกัน     

ถ้าเราเข้าใจ Flowchart เราก็จะเขียนโปรแกรมออกมาได้ง่ายขึ้น เพราะเราจะรู้ step การทำงานว่าจะต้องไปทางไหนต่อ
ทำอะไรต่อ 
ขอขอบคุณ http://www.cpe.mut.ac.th/board              

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดที่ 1

คำสั่ง  :   ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด  แล้ว  X ลงบนกระดาษคำตอบ
1. e-Book ย่อมาจากคำในภาษาอังกฤษในข้อใด?
 ก. Electron Book
 ข. Electronic Book
 ค. E learning Book
 ง. Electrolux Book
2. ข้อใดให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ถูกต้องที่สุด?
 ก. หนังสือที่สามารถสั่งพิมพ์ทางเครื่องพิมพ์ได้
 ข. หนังสือที่ประกอบไปด้วยข้อความ ภาพและเสียง
 ค. หนังสือที่สามารถเปิดอ่านได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์
 ง. หนังสือที่สร้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์และเปิดอ่านได้เหมือนหนังสือจริง
3. ข้อใดเป็นความสามารถของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีเหมือนกับหนังสือจริง?
 ก. นำเสนอข้อมูลเสียงได้
 ข. นำเสนอข้อมูลแบบข้อความและรูปภาพได้
 ค. นำเสนอการเชื่อมโยงไปยังข้อมูลหน้าอื่นๆ ได้
 ง. นำเสนอข้อมูลภาพเคลื่อนไหว หรือภาพวิดีโอได้
4. ข้อใดไม่ถูกต้อง?
 ก. แฟ้มสกุล .opf ต้องใช้โปรแกรม Flip Viewer ในการอ่าน
 ข. แฟ้มสกุล .swf ต้องใช้โปรแกรม Flash Player ในการอ่าน
 ค. แฟ้มสกุล doc ต้องใช้โปรแกรม Power Point ในการอ่าน
 ง.แฟ้มสกุล .dnl ต้องใช้โปรแกรม DNL Reader ในการอ่าน
5. ในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถนำเข้าแฟ้ม (Import) ได้หลายประเภท ยกเว้น ข้อใด ?
 ก. แฟ้มระบบ (dll, sys)
 ข. แฟ้มเอกสาร (doc, txt)
 ค. แฟ้มรูปภาพ (jpg, gif)
 ง. แฟ้ม เสียงและวิดีโอ (mp3, avi)
6. ข้อใด ไม่ใช่ ความสามารถของโปรแกรม Flip Album 6.0 Pro ?
 ก. สร้างสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบหน้าพลิก 3 มิติ
 ข. สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเหมือนหนังสือจริง
 ค. อับโหลดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
 ง. สร้าง Screen Sever สำหรับการรักษาอายุจอภาพคอมพิวเตอร์
7. ข้อใด ไม่ใช่ คุณสมบัติของโปรแกรม Flip Album 6.0 Pro ?
 ก. ไฟล์มีขนาดใหญ่ สามารถดาวน์โหลดและส่งข้อมูลได้ช้า
 ข. สามารถส่งต่อได้ง่ายโดยการส่งผ่านอีเมล์ หรือระบบเครือข่าย
 ค. สามารถแทรกเสียงเพลง ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียงบรรยายได้
 ง. มีลักษณะคล้ายกับหนังสือซึ่งเป็นรูปแบบที่ออ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย
8. ข้อใดคือขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรม Flip Album 6.0 Pro ?
 ก. Start > Setting > Programs
 ข. Start > Setting > Flip Album 6.0 Pro
 ค. Start > Programs > Flip Album 6.0 Pro
 ง. Start > Programs > Flip Album 6.0 Pro > Flip Album 6.0 Pro
9. โปรแกรมใดที่ไม่นิยมนำมาสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์?
ก. Notpad
ข. Flip Album
ค. Desktop Author
ง. Flip Flash Album
10. ข้อใดเป็นขั้นตอนการออกแบบก่อนการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์?
 ก. สร้างโฟลเดอร์สำหรับหนังสืออิเล็กเล็กทรอนิกส์
 ข. ย่อไฟล์ภาพให้มีขนาดเหมาะสมก่อนนำไปใช้งาน
 ค. กำหนดการเชื่อมโยงเพื่อไม่ให้มีปัญหาในการนำเสนอผ่านเว็บไซต์
 ง. เตรียมไฟล์ประกอบโดยตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษหรือผสมตัวเลขและห้ามเว้นวรรค
11. โปรแกรมจะแสดงชื่อหนังสือที่สร้างขึ้นที่ส่วนใด?
 ก. แถบเมนู
 ข. แถบสถานะ
 ค. แถบหัวเรื่อง
 ง. แถบเครื่องมือ
12. โปรแกรมจะแสดงเลขหน้าและจํานวนหน้าที่ส่วนใด?
 ก. แถบเมนู
 ข. แถบสถานะ
 ค. แถบหัวเรื่อง
 ง. แถบเครื่องมือ
13. ซอฟต์แวร์ Reader จะเกี่ยวข้องกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อย่างไร
 ก. ซอฟต์แวร์สำหรับการอ่าน
 ข. ซอฟต์แวร์สำหรับการเขียน
 ค. ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบ
 ง. ซอฟต์แวร์สำหรับการถอดรหัส
14. ข้อใดเป็นคำสั่งในการติดตั้งโปรแกรม?
 ก. setup
 ข. start
 ค. install
 ง. setting
15. Title Bar มีความสำคัญอย่างไร?
 ก. แสดงคำสั่ง
 ข. แสดงสถานะของโปรแกรม
 ค. แสดงชื่อของโปรแกรมที่ใช้งานปัจจุบัน
 ง. แสดงเมนูคำสั่งต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นในปัจจุบัน
16. ข้อใดคือประโยชน์ของ e-Book ?
 ก. สามารถเก็บข้อมูลได้มาก
 ข. สะดวกต่อการใช้งาน
 ค. สามารถนำภาพและเสียงมาใช้ได้
 ง. ถูกทุกข้อ
17. ข้อใดไม่ใช่โครงสร้างของ e-Book กับหนังสือทั่วไป?
 ก. หน้าปก
 ข. คำนำ
 ค. ดัชนี
 ง. วิดีโอ
18. ข้อใดคือความหมายของหน้าดัชนี?
 ก. ด้านหน้าสุดของหนังสือ
 ข. ด้านหลังสุดของหนังสือ
 ค. แหล่งข้อมูลที่ใช้นำมาอ้างอิง
 ง. การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่าง ๆ ภายในเล่ม
19. ข้อใดคือความหมายของหน้าอ้างอิง?
 ก. ด้านหน้าสุดของหนังสือ
 ข. ด้านหลังสุดของหนังสือ
 ค. แหล่งข้อมูลที่ใช้นำมาอ้างอิง
 ง. การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่าง ๆ ภายในเล่ม
20. ข้อใดเป็นคุณสมบัติพิเศษของโปรแกรม Flip Album 6.0 Pro ?
 ก. เป็นเครื่องมือสร้าง Digital Album
 ข. ง่ายต่อการผลิตและการใช้งาน ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก
 ค. สามารถสร้าง Album ไว้บนชั้นหนังสือได้
 ง. ถูกทุกข้อ

แบบฝึกหัดที่ 2

คำสั่ง  :   ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด  แล้ว  X ลงบนกระดาษคำตอบ
1. ข้อใดเป็นการเตรียมงานเบื้องต้นก่อนการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์?
 ก. ย่อไฟล์ภาพให้มีขนาดเหมาะสมก่อนนำไปใช้งาน
 ข. กำหนดการเชื่อมโยงเพื่อไม่ให้มีปัญหาในการนำเสนอผ่านเว็บไซต์
 ค. สร้างโฟลเดอร์สำหรับหนังสืออิเล็กเล็กทรอนิกส์ 1 โฟลเดอร์ ต่อ หนังสือ 1 เล่ม
 ง. เตรียมไฟล์ประกอบโดยตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษหรือผสมตัวเลขและห้ามเว้นวรรค
2. การสร้างหนังสือเล่มใหม่ ต้องคลิกคําสั่งใด?
ก. New
ข. Open
ค. Save
ง. Page
3. การเปิดหนังสือเดิม ต้องคลิกคําสั่งใด?
 ก. New
ข. Open
ค. Save
ง. Page
4. การบันทึกหนังสือ ต้องคลิกคําสั่งใด?
ก. New
ข. Open
ค. Save
ง. Page
5. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่บันทึกแล้วสามารถนำมาแก้ไขเพิ่มเติมทีหลังได้จะมีนามสกุลใด?
 ก. EXE
 ข. DML
 ค. DNL
 ง. OPF
6. ข้อใด ไม่ใช่ การกำหนดรายละเอียดที่สำคัญให้กับการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์?
 ก. เลือก Character Set ให้เป็นภาษาไทย
 ข. เลือกสีของหน้ากระดาษ (Paper Colour)
 ค. ค่าความกว้าง (Width) และความสูง (Height)
 ง. เลือกการสร้างไฟล์ Backup (Book Backup Files)
7. ถ้าต้องการเพิ่มหน้ากระดาษต้องคลิกปุ่มใด?
 ก. New page
 ข. Copy page
 ค. Insert page
 ง. Delete page
8. ถ้าต้องการลบหน้ากระดาษต้องคลิกปุ่มใด?
 ก. New page
 ข. Copy page
 ค. Insert page
ง. Delete page
9. ข้อใดเป็นคำสั่งสร้างหน้ากระดาษทีละหลาย ๆ หน้า?
ก. Set book
ข. Bookmark
ค. Book Binder
ง. Multiple page
10. Centerfold Page คือคำสั่งใด?
 ก. การลบหน้ากระดาษ
 ข. การสร้างหน้ากระดาษ
 ค. การแทรกภาพเคลื่อนไหว
 ง. การสร้างหนังสือแบบหน้าคู่
11. เมื่อเริ่มสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะไม่พบหน้าใด?
 ก. หน้าปก
 ข. คำนำ
 ค. สารบัญ
 ง. หน้าดัชนี
12. Overview Page คือหน้าใด?
 ก. หน้าปก
 ข. สารบัญ
 ค. หน้าดัชนี
 ง. หน้าแสดงตัวอย่าง
13. ถ้าต้องการสร้างหน้าสารบัญควรทำตามขั้นตอนใด?
ก. Edit > Insert > Left page
 ข. Edit > Insert > Right page
 ค. Edit > Insert > Index page
 ง. Edit > Insert > Contents page
14. ถ้าต้องการสร้างหน้าดัชนีควรทำตามขั้นตอนใด?
 ก. Edit > Insert > Left page
 ข. Edit > Insert > Right page
 ค. Edit > Insert > Index page
 ง. Edit > Insert > Contents page
15. Index page คืออะไร?
 ก. หน้าปก
 ข. หน้าสารบัญ
 ค. แหล่งอ้างอิง
 ง. หน้าที่ระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่าง ๆ ภายในเล่ม
16. Contents Page คืออะไร?
 ก. หน้าปก
 ข. หน้าสารบัญ
 ค. แหล่งอ้างอิง
 ง. หน้าที่ระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่าง ๆ ภายในเล่ม
17. เมื่อต้องการบันทึกข้อมูลหนังสือที่เคยบันทึกไว้แล้วควรทำอย่างไร?
 ก. Save
ข. Save As
 ค. Save In
 ง. Save On
18. Page Number หมายถึง ข้อใด?
 ก. หน้าหนังสือ
 ข. จำนวนหน้าหนังสือ
 ค. ตัวเลขภายในหนังสือ
 ง. หน้าปกด้านหลังสุดของหนังสือ
19. เมื่อบันทึกข้อมูลหนังสือจะมีนามสกุลใด
 ก. opf
 ข. exe
 ค. doc
 ง. jpg
20. ถ้าต้องการย้ายหน้าหนังสือควรใช้คำสั่งใด ?
Cut
Copy
Insert
Delete

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การสร้าง e-Book เบื้องต้น

 การสร้าง e-Book เบื้องต้น
       ขั้นตอนการสร้าง e-Book 
            oคลิก File ที่แถบ Menu Bar
            oคลิกที่คำว่า New Book 


 หนังสือดังกล่าวจะมีเพียง 2 หน้า คือ หน้าแรก และหน้าสุดท้าย ส่วนหน้าอื่น ๆ ผู้สร้างสรรค์สามารถเพิ่มจำนวนหน้าได้ตามที่ต้องการ

การสร้างหน้ากระดาษ
     การสร้างหน้ากระดาษ e-Book 
          oคลิกที่ Edit ที่แถบ Menu Bar
          oคลิกที่คำว่า Insert Page
 เราสามารถเพิ่มหน้าหนังสือ ครั้งละ 1 หน้า หรือหลายสิบหน้าก็ได้ เช่น
      เพิ่มหน้าด้านซ้ายให้คลิกเมาส์ที่คำว่า Left Page 
      เพิ่มหน้าด้านขวาให้คลิกเมาส์ที่คำว่า Right Page
      เพิ่มหน้าครั้งละหลายหน้าหรือหลายสิบหน้าให้คลิกที่คำว่า Multiple Pages 
      เพิ่มหน้า Overview pages ให้คลิกเมาส์ที่คำว่า Overview pages
      เพิ่มหน้าสารบัญให้คลิกเมาส์ที่คำว่า Contents pages 
      เพิ่มหน้าดัชนีให้คลิกเมาส์ที่คำว่า Index pages 
การเพิ่มหน้าหนังสือแบบหลาย ๆ หน้า 
      คลิกที่ Edit ที่แถบ Menu Bar
      คลิกที่คำว่า Insert Page
      เลือก Multiple Pages ซึ่งจะปรากฏ Dialog box ดังนี้


 เพิ่มจำนวนหน้าหนังสือที่เราต้องการลงในช่อง Number of pages ยกตัวอย่างเช่น เราจะเพิ่มหน้าหนังสือจำนวน 5 หน้า ทำได้โดยใส่หมายเลข 5 ลงในช่อง Number of pages จากนั้นคลิกที่ OK จะได้หน้าต่างดังนี้


การบันทึกข้อมูลหนังสือ

 การบันทึกข้อมูล 
การบันทึกข้อมูลหนังสือ มีวิธีการบันทึกข้อมูล 2 วิธี คือ Save และ Save as 
1. คำสั่ง Save เป็นการบันทึกชื่อเดิมที่มีการตั้งชื่อไว้แล้ว
2. คำสั่ง Save as เป็นการบันทึกชื่อใหม่หรือการบันทึกข้อมูลครั้งแรก
การบันทึกข้อมูลสามารถทำได้ ดังนี้
o คลิกที่ File ที่แถบ Menu Bar
o คลิกที่คำว่า Save as
o เลือกที่เก็บในช่อง Save in
o ใส่ชื่อแฟ้มที่ต้องการในช่อง File name
o คลิก Save 


การเปิดข้อมูลหนังสือ

 การเปิดข้อมูลหนังสือ 
การเปิดข้อมูลหนังสือ สามารถทำได้ ดังนี้
-คลิกที่ File ที่แถบ Menu Bar 
-คลิกที่คำว่า Open Book